วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567

บพข-ม.รามคำแหง ร่วมกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จัดอบรมมาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนสถานที่พักผ่อนเขตร้อนชื้นที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของโลก

บพข-ม.รามคำแหง ร่วมกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จัดอบรมมาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนสถานที่พักผ่อนเขตร้อนชื้นที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของโลก

โครงการยกระดับบริหารจัดการการท่องเที่ยวดำน้ำคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ตราด ที่ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเป็นโครงการในแผนงานการวิจัยการท่องเที่ยวบนฐานมรดกธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายใต้กลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด จัดอบรมหลักสูตรมาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยเพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ในวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด


รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ผู้อำนวยการชุดแผนงานการท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ บพข. ร่วมกับคณาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ดำเนินการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งได้ริเริ่มแนวคิดการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนระดับโลกบนฐานมรดกทางธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งพร้อมก้าวสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Pathway) ในภาคการท่องเที่ยวโดยดำเนินงานร่วมกับภาคีองค์กรเครือข่ายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการท่องเที่ยว และส่งเสริมการท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงบวก (Nature Positive Tourism) ซึ่งมุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แนวปะการัง ป่าชายเลน ฯลฯ รวมถึงการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาด้วยธรรมชาติ (Nature-based Solutions) ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเลในจังหวัดตราด โดยเฉพาะการตระหนักถึงการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การลดและการชดเชยคาร์บอนจากกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล

การจัดอบรมหลักสูตรมาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเลเป็นจำนวนมาก โดยมาตรฐานดังกล่าวได้พัฒนามาจากมาตรฐานการท่องเที่ยวระดับสากลของหลายองค์กร ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมการท่องเที่ยวทางทะเล 4 ประเภท ได้แก่ ดำน้ำตื้น ดำน้ำลึก แคนู/คายัค และเจ็ตสกี โดยมี 6 องค์ประกอบสำคัญดังนี้: 1) การบริหารจัดการที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ 2) การใช้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 3) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างยั่งยืนสำหรับชุมชนและนักท่องเที่ยว 4) การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน 5) การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ และภูมิทัศน์ และ 6) การบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยงทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การอบรมฯ ครั้งนี้ได้แนะนำ TOOLKIT มาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งออกแบบมาให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจสามารถเข้าถึงได้ง่าย สามารถเรีนยรู้ผ่านการอบรมออนไลน์และการเรียนรู้ด้วยตนเอง TOOLKIT นี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเข้าใจและนำมาตรฐานดังกล่าวไปปรับใช้ในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะผู้จัดอบรมฯ ได้ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและชดเชยคาร์บอนผ่านแอปพลิเคชัน “ZERO CARBON” 

นายเนรมิต สงแสง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เปิดเผยว่า เกาะช้าง จังหวัดตราด ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสถานที่พักผ่อนเขตร้อนชื้นที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของโลก โดยนิตยสาร Travel + Leisure ซึ่งเป็นสื่อชั้นนำด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ เกาะช้างเป็น "อัญมณีแห่งอ่าวไทย" ได้รับการยกย่องให้อยู่ในอันดับสูงสุดเคียงคู่กับสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ พาลาวัน (ฟิลิปปินส์) และบาหลี (อินโดนีเซีย) ซึ่งสะท้อนถึงความงดงามทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่โดดเด่นของหมู่เกาะช้าง ที่มีระบบนิเวศหลากหลาย ทั้งป่าดิบชื้น น้ำตก ชายหาด และแนวปะการังที่อุดมสมบูรณ์ นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับธรรมชาติที่งดงามผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดินป่า ดำน้ำดูปะการัง และการล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งช่วยสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวที่แตกต่างให้กับผู้มาเยือน ผลการจัดอันดับครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของเกาะช้างและประเทศไทยโดยรวม โดยดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงจากทั่วโลกให้มาสัมผัสหมู่เกาะช้าง ดังนั้นการอบรมมาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยจึงนับเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานการท่องเที่ยวฯ รวมถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์ประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

คุณอรุณวรรณ ใจประสาน และคุณจเร กังวาลไกล ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเลในพื้นที่หมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด กล่าวว่ามาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยจะช่วยยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงการลดการปล่อยคาร์บอน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติและช่วยกันรักษาความงดงามของระบบนิเวศในพื้นที่เกาะช้าง นอกจากนี้ มาตรฐานการท่องเที่ยวฯ ดังกล่าวยังเน้นการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่หลากหลาย เช่น แนวปะการัง หญ้าทะเล และระบบนิเวศในเขตชายฝั่ง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการท่องเที่ยวในระยะยาวและช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้การใช้มาตรฐานการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนากิจกรรมและธุรกิจท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน



 

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2567

สคส. ตอกย้ำความมั่นใจภาครัฐ เอกชน และประชาชน ชูศูนย์ PDPA Center รับเรื่องร้องเรียน ช่วยแก้ไขปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

 สคส. ตอกย้ำความมั่นใจภาครัฐ เอกชน และประชาชน ชูศูนย์ PDPA Center รับเรื่องร้องเรียน ช่วยแก้ไขปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC ได้ตอกย้ำ “ศูนย์บริการรับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA Center” เป็นช่องทางเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ และดำเนินการยื่นเรื่องร้องเรียนด้านการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างรวดเร็ว และครบวงจร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมเสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นในกระบวนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบและกำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC เปิดเผยว่า ตั้งแต่เปิดศูนย์ PDPA Center มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาทั้งหมด 823 เรื่อง แบ่งออกเป็น 12 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจธนาคาร ประกันภัย สินเชื่อเงินสด โทรคมนาคม ขนส่งและโลจิสติกส์ การขายของออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ หน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาลและสาธารณสุข และด้านการวิจัย โดยประเภทที่มีจำนวนเรื่องร้องเรียนมากที่สุดคือ “ประเภทอื่น ๆ” จำนวน 347 เรื่อง ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับกรณีประชาชนร้องเรียนกันเอง หรือร้องเรียนร้านค้าทั่วไปที่ไม่ใช่ช่องทางออนไลน์ รวมถึงกรณีร้องเรียนนิติบุคคลที่เป็นคอนโด หอพัก หรือเอกชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเภทอื่น ๆ

นอกจากนี้ PDPA Center ได้ดำเนินการพิจารณาและแก้ไขเรื่องร้องเรียนเสร็จสิ้นแล้ว 181 เรื่อง จากเรื่องร้องเรียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 21.99 โดยแบ่งเป็นการมีคำสั่งทางปกครองจำนวน 180 เรื่อง และการไกล่เกลี่ยจำนวน 1 เรื่อง ส่วนเรื่องที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเสนอให้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณามีจำนวน 450 เรื่อง และอีก 192 เรื่องถูกจำหน่ายเนื่องจากเอกสารไม่ครบถ้วน

ศูนย์ PDPA Center ได้รับเรื่องร้องเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเดือนละ 5-10 เรื่อง ในบางเดือนพบการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกรณีที่มีผู้เสียหายหลายรายจากผู้ถูกร้องเรียนรายเดียวกัน สะท้อนถึงปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องการการคุ้มครองอย่างเข้มงวดมากขึ้น

พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ กล่าวต่ออีกว่า บทบาทของ PDPA Center ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่เพียงแต่เป็นจุดรับเรื่องร้องเรียนเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษา และแนะนำแนวทางปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงดำเนินการด้านการเสริมสร้างความเข้าใจในกฎหมาย PDPA และการปฏิบัติตามข้อกำหนดให้สอดคล้องกับกฎหมาย อีกทั้งเป็นตัวกลางในการแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการให้คำแนะนำฉุกเฉินในกรณีที่เกิดการโจมตีทางไซเบอร์อีกด้วย



“และเพื่อเพิ่มช่องทางช่วยเหลือประชาชนในต่างจังหวัด สคส. ได้ขยายศูนย์บริการฯ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ครอบคลุม 6 จังหวัด ในหัวเมืองใหญ่ เชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา นครสวรรค์ สงขลา และสมุทรปราการ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการยื่นเรื่องร้องเรียน และให้คำปรึกษาด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแก่ประชาชนได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งศูนย์บริการนี้จะทำหน้าที่สำคัญในการสนับสนุนให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างถูกต้อง ทั้งยังสามารถจัดการเรื่องร้องเรียนได้ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงการเสริมสร้างการรับรู้ถึงสิทธิ และหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลในชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย” พ.ต.อ. สุรพงศ์ เปล่งขำ กล่าวทิ้งท้าย


###########

ช่องทางการติดต่อ PDPC หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) 

โทร. 02 1118800

📞 กด 0 โอเปอเรเตอร์

📞 กด 1 ขอรับคำปรึกษาด้านกฎหมาย

📞 กด 2 เรื่องร้องเรียน

📞 กด 3 สอบถามเพิ่มเติมการแจ้งเหตุละเมิด

📞 กด 4 การเงิน บัญชี และพัสดุ

📞 กด 5  งานสารบรรณ

    Line ID: @pdpcthailand

💻  ส่งหนังสือราชการ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนี้

📧  e-mail : saraban@pdpc.or.th 🌐 เว็บไซต์ : www.pdpc.or.th

#PDPC #PDPA #สคส #PDPACenter #ข้อมูลส่วนบุคคล

ไอคอนสยามสร้างมหาปรากฏการณ์ Countdown สะกดโลก

 ไอคอนสยามสร้างมหาปรากฏการณ์ Countdown สะกดโลก


“Amazing Thailand Countdown 2025” เชิญ “ลิซ่า” ศิลปินไอคอนิคอันดับหนึ่งของ โลก ร่วมส่งท้ายปี มอบความสุขเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทยและ นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก


 ICONSIAM Announces the "Amazing Thailand Countdown 2025"

Headlining Lisa, the Global Iconic Artist to Celebrate with Thais & Travelers around the World.

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567

 “แม็บ วรรธนะ-ฟิว พรทวี” นักแสดงรุ่นใหม่สุดปลื้ม รับรางวัลอันทรงคุณค่า




ขอแสดงความยินดีกับโอกาสอันดีสำหรับก้าวแรกในวงการบันเทิง ของสองนักแสดงรุ่นใหม่สายซีรีส์วาย อย่าง “แม็บ-วรรธนะ เทพสุยะ” และ “ฟิว-พรทวี วารินทร์ไพศาล” จากซีรีส์เรื่อง “First Time เกมส์ร้ายของผู้ชายคลั่งรัก” ผลิตโดย Dolphin Film ที่ได้รับรางวัลอันทรงคุณค่าจากสาขา นักแสดงหน้าใหม่ดีเด่น ในงานประกาศรางวัล Siam International Awards 2024 เมื่อวันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2567 ณ หอประชุมใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลนี้ อีกทั้งยังเป็นกำลังใจอันดีในการทำงานในวงการบันเทิงในอนาคต 





สำหรับแฟนๆ ที่รอติดตามชมซีรีส์ “First Time เกมส์ร้ายของผู้ชายคลั่งรัก” เตรียมรับชมได้เร็วๆ นี้

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567

สยาม แรพเตอร์ส จัดหนัก คว้าชัยในศึก จตุรมิตรเกมส์ 2024 เกมแรกรุ่น 16 ปี

 สยาม แรพเตอร์ส จัดหนัก คว้าชัยในศึก จตุรมิตรเกมส์ 2024 เกมแรกรุ่น 16 ปี 


จตุรมิตรเกมส์ 2024 (JATURAMITR GAMES 2024)  บาสห้าคน ในรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี มี 4 สถาบัน  ฟันดาเมนทาลิที่, แอลเอสพี สปอร์ต อะคาเดมี่, ชูต อิท อะคาเดมี่ และ สยามแรพเตอร์ส เข้าร่วมดวลศึก  ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา  เป็นการเปิดสนามรุ่นอายุ 16 ปี เป็นการพบกันระหว่างทีม “สยาม แรพเตอร์ส” กับ “ทีมฟันดาเมนทาลิที่”  ณ สนามบาสสวนหลวง ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9   ผลทีม “สยาม แรพเตอร์ส” เจ้าบ้าน คว้าชัยไปอย่างสวยงามด้วยสกอร์ 64:35







วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ขอเชิญเยี่ยมชมโครงการวิจัยปลูกสตอร์เบอรี่ในโรงเรือนอัจฉริยะ พันธุ์พระราชทาน #89 ในพื้นที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) กรุงเทพมหานคร

 ขอเชิญเยี่ยมชมโครงการวิจัยปลูกสตอร์เบอรี่ในโรงเรือนอัจฉริยะ พันธุ์พระราชทาน #89 ในพื้นที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) กรุงเทพมหานคร 

รศ.ดร.พีระศักดิ์  ฉายประสาท ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลไม้ วช. เปิดเผยว่า จากโครงการวิจัยปลูกสตอร์เบอรี่ พันธุ์พระราชทาน #89 ในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง ได้แก่ อินทนนท์ อ่างขาง แม่แฮใหม่ แม่สา สู่การปลูกสตอร์เบอรี่ในโรงเรือนอัจฉริยะ โดยการสนับสนุนของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวง อว. ขณะนี้เริ่มออกดอกติดผลตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ในวันจันทร์- ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น . ประสานงานเจ้าหน้าที่โครงการได้ที่ 063 6392697 





โครงการศูนย์การเรียนรู้การปลูกพืชในโรงเรือนอัจฉริยะเร็วๆ นี้ จะมีการจัดอบรมให้ความรู้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย 

#ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลไม้ 

#เกษตรแม่นยำ 

ขอขอบคุณ #สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ที่สนับสนุนงบประมาณวิจัย

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2567

สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทยร่วมกับ ม.รามคำแหง ม.เกษตรศาสตร์ และสมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลของญี่ปุ่นจัดประชุมวิชาการใหญ่ในเอเชีย 5thAsian Marine Biology Symposium (AMBS)

  สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทยร่วมกับ ม.รามคำแหง ม.เกษตรศาสตร์ และสมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลของญี่ปุ่นจัดประชุมวิชาการใหญ่ในเอเชีย 5thAsian Marine Biology Symposium  (AMBS)


รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ประธานการจัดประชุมวิชาการนานาชาติชีววิทยาทางทะเลแห่งเอเชีย (5thAMBS) / ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Professor Dr. Hiroaki Tsutsumi, President of the Prefectural University of Kumamoto, Japan ร่วมกันจัดประชุมวิชาการนานาชาติชีววิทยาทางทะเลแห่งเอเชีย (5thAMBS) ในระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรม ดิเอมเมอรัลด์ รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ โดยเป็นความร่วมมือของสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย / ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง / The Japanese Association of Benthology / The Plankton Society of Japan 

การประชุมวิชาการนานาชาติชีววิทยาทางทะเลแห่งเอเชียครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 5 โดยก่อนหน้านี้มีการจัดประชุมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 ที่ภูเก็ต ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2557 ที่เมืองเชจู ประเทศเกาหลีใต้ ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2560 ที่เมืองคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น และครั้งที่ 4 ที่เมืองไทเป ไต้หวัน การประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่นักวิชาการด้านชีววิทยาทางทะเลในเอเซียจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยในประเด็นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหัวข้อหลักของการประชุม คือ “รายงานสถานการณ์ปัจจุบันของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศชายฝั่ง รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืน” ซึ่งมีนักวิชาการชั้นนำของเอเซียจากหลายประเทศเข้าร่วมการประชุมมากกว่า 150 คน นำเสนอผลงานวิจัยที่โดดเด่นจำนวน 117 เรื่อง ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) Biology, Ecology, and Taxonomy of Marine Organisms; 2) Fisheries, Mariculture and Ocean Farming; 3) Physical Oceanography (Remote Sensing); 4) Biogeochemistry of Coastal Ecosystem; 5) Marine Conservation and Management; 6) Marine Pollution and Ecotoxicology; 7) Impact of Climate Change on Marine Organisms and Ecosystems; 8) Marine Omics; 9) Marine Bioinvasion; 10) General Session of Marine Biology

และยังมีการจัดประชุมเครือข่าย “MBON & ML2030: Networking Marine Biodiversity Research in East and Southeast Asia” และ “Collaboration Networking of the Research in Blue Ocean: the Thailand Reinventing University”  

การประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนักวิทยาศาสตร์รับเชิญชั้นนำเป็นวิทยากรบรรยายหลัก (Keynote Speaker) ในประเด็นสำคัญของโลก จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ Professor Chang-Keun Kang (Republic of Korea) / Professor Hsing-Juh Lin (Taiwan) / Professor Aileen Tan Shau Hwai (Malaysia) / Dr. Thon Thamrongnawasawat (Thailand) / Professor Haruko Kurihara (Japan) 

ขณะนี้โลกและเอเชียกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษทางทะเล และการเสื่อมโทรมของพื้นที่ชายฝั่งที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง ความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งในท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมของเอเชีย  การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่เพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้แก่นักวิชาการและนักวิจัยเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของโลกร่วมกันอีกด้วย

นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมได้ที่ https://www.ambs2024.com/ ภายในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเบิกจ่ายจากต้นสังกัดได้ตามระเบียบราชการและหน่วยงานต้นสังกัด หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ดร.สิทธิพร เพ็งสกุล (0860028444)

วช.มอบรางวัล NRCT Award 29 ผลงานเด่น เนื่องในโอกาส วช. ครบรอบ 65 ปี

 วช.มอบรางวัล NRCT Award 29 ผลงานเด่น เนื่องในโอกาส วช. ครบรอบ 65 ปี

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบรางวัล NRCT Award เป็นรางวัลที่มอบเพื่อยกย่องเชิดชูผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้มอบรางวัล ในระหว่างพิธีเปิดงานเนื่องในโอกาส วช. ครบรอบ 65 ปี  ณ ห้องจอมพลสฤกษดิ์ ธนะรัชต์ อาคาร วช.1 




โดย วช. ได้คัดเลือกผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยและนวัตกรรมตอบโจทย์ประเทศ NRCT AWARD จำนวน 29 ผลงาน ดังนี้

1. ผลงานเรื่อง “ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อสำหรับผู้สูงอายุ

โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน

2. ผลงานเรื่อง “การลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตบนถนนในเขตสุขภาพที่ 8 โดยบูรณาการทุกภาคส่วน”

โดย นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ

3. ผลงานเรื่อง “ครอบครัวพลังบวก”

โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี

4. ผลงานเรื่อง “การบำบัดทางชีวการแพทย์ ด้วยนวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์”

โดย ศ.ดร.ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย

5. ผลงานเรื่อง “สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 89”

โดย รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท

6. ผลงานเรื่อง “ส้มโอฉายรังสีเพื่อการส่งออกประเทศสหรัฐอเมริกา”

โดย ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์

7. ผลงานเรื่อง “ต้นแบบผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงแปรรูปจากเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้ง”

โดย ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์

8. ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย”

โดย ศ.พล.ต.ต.ดร.พัชรา สินลอยมา

9. ผลงานเรื่อง “ต้นแบบนวัตกรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดี”

โดย รศ.ดร.วัชรินทร์ ลอยลม

10. ผลงานเรื่อง “ถุงมือยางธรรมชาติเคลือบน้ำยานาโนอิมัลชัน”

โดย รศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ

11. ผลงานเรื่อง “"MEDEE" นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต”

โดย รศ.ดร.นัทธี สุรีย์

12. ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPACE)”

โดย รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ

13. ผลงานเรื่อง “อุบัติการณ์ของโรคกระดูกพรุน ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยและความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุไทย”

โดย รศ.ดร. นายแพทย์โพชฌงค์ โชติญาณวงษ์

14. ผลงานเรื่อง “เครื่องวัดฝุ่น DustBoy”

โดย รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล

15. ผลงานเรื่อง “แพลตฟอร์มระบบปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ Smart Canal Auto-ActivePlatform (SCAP)”

โดย ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง

16. ผลงานเรื่อง “เครื่องคัดกรองโรคกระดูกพรุนโดยใช้แสงความถี่ต่ำและปัญญาประดิษฐ์”

โดย รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ

17. ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมการเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ”

โดย รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์

18. ผลงานเรื่อง “ห้อง ICU ความดันลบเคลื่อนที่” โดย รศ.ดร.ณัฐพล ฤกษ์เกษมสันติ์

19. ผลงานเรื่อง “การสังเคราะห์องค์ความรู้ในการใช้สีและลวดลายของกระเบื้องและกระเบื้องเคลือบจากวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”

โดย รศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล

20. ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส้มสีทอง”

โดย ผศ.ดร.สุภาวดี ศรีแย้ม

21. ผลงานเรื่อง “โปรแกรมเด็กรุ่นใหม่ใจเย็น ๆ”

โดย ดร.หรรษา เศรษฐบุปผา

22. ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมเตียงและที่นอนยางพาราอัจฉริยะผ่านระบบ IOTเพื่อผู้ป่วยติดเตียง”

โดย ผศ.นิธิโรจน์ พรสุวรรณเจริญ

23. ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมผ้าไม่ย้อมเชิงอุตสาหกรรม”

โดย ดร.สุระเกียรติ รัตนอำนวยศิริ

24. ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมส่งเสริมเกษตรท้องถิ่นวิถีใหม่”

โดย ผศ. ดร.ณัฐพงค์ จันจุฬา

25. ผลงานเรื่อง “เครื่องเตือนภัยแผ่นดินไหว TUSHM”

โดย ดร.อมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี

26. ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์”

โดย ดร.ครรชิต สิงห์สุข

27. ผลงานเรื่อง “โดรนในการสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม”

โดย คุณวันทนีย์ เหลืองวิสุทธิ์ศิริ

28. ผลงานเรื่อง “ระบบเตือนภัยดินถล่ม: Community based landslide warning system”

โดย คุณวรวัชร์ ตอวิวัฒน์ 

29. ผลงานเรื่อง “โปรตีนกาวไหม ทางเลือกรักษาโรคเรื้อรัง”  

 โดย คุณศุภมาส นภาวิชยานันท์





การมอบรางวัล NRCT Award จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง มีนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าเชิงสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้นักวิจัยรุ่นใหม่พัฒนาผลงานที่ตอบโจทย์ปัญหาสำคัญของประเทศ รางวัลดังกล่าวยังมุ่งเน้นการเผยแพร่และนำผลงานไปสู่การใช้งานจริง อันเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล

วช.สนับสนุน ททท.จังหวัดอุทัยธานี จัดกิจรรมส่งเสริมการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีโดรนถ่ายภาพให้กับเยาวชนและทีมงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัด

  วันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย...