วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567

พว. “พลิกโฉมคุณภาพการศึกษา โดยพัฒนาครูให้มีศักยภาพสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21”

 

ในระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้จัดโครงการพัฒนาครูต้นแบบในเขตภาคกลาง เพื่อ “พลิกโฉมคุณภาพการศึกษา โดยพัฒนาครูให้มีศักยภาพสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21” ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ไปสู่การสร้างผู้เรียนให้เป็นนวัตกร อันเป็นกิจกรรมสำคัญของการอบรมครูตามโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพ การจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning สําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (1 อําเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ) ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา เริ่มต้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา โดยแบ่งสถานที่อบรมเป็น 6 จุด ดังนี้ ระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ 1.โรงเรียนบางปะหัน 2.โรงเรียนอยุธยา นุสรณ์ 3.โรงเรียนอุทัย 4.โรงเรียนเสนา เสนาประสิทธิ์ และระดับประถมศึกษา ได้แก่ สพป.พระนครศรีอยุธยาเขต 1 และโรงเรียนวัดพระขาว ทั้งนี้มีครูเข้ารับการอบรมรวมทั้งสิ้น 1,002 คน เพื่อสร้างต้นแบบในพื้นที่ภาคกลาง 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

ในการอบรมครั้งนี้ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ณ หอประชุม โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แอปพลิเคชัน Zoom Cloud Meetings ไปยังจุดอบรมต่างๆ โดยกล่าวว่า ในระยะเวลาที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า 20 ปี ระบบการศึกษาเกิดปัญหาใน หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย กล่าวคือ การจัดการศึกษาไม่ตอบสนองความจำเป็นในการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิต ของคนในชาติ ไม่สามารถสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ส่งผลให้ฐานความรู้ของประชากรต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จนเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การเมือง การปกครอง ทั้งนี้สาเหตุเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ ยัง ไม่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนยังเรียนรู้แบบ Passive Learning ซึ่งส่งผลให้จำได้เพียงเฉพาะเนื้อหา ตามตำรา หรือ เอกสาร ไม่เกิดการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง ขาดการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ขาดการสร้างคุณธรรมค่านิยมที่ นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และขาดการพัฒนาประสบการณ์ร่วมกัน

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องหันมาจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่มีกิจกรรมสำคัญ ให้ผู้เรียนได้สำรวจและรวบรวมข้อมูล คิดวิเคราะห์และสรุปความรู้ เชื่อมโยงความรู้นำไปสู่การ สรุปเป็นหลักการ นำความรู้และหลักการไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ผ่านการลงมือปฏิบัติ ทำงานอย่างมีความสุข สร้างชิ้นงาน ทำโครงงาน และสร้างสรรค์ผลผลิตในระดับนวัตกรรม ให้กับชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศ และโลกในระดับสากล ซึ่งผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพเหล่านี้ได้ในระดับสูงตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จึงจะส่งผลต่อการพัฒนา ประเทศไปสู่ความมันคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และผู้เชี่ยวชาญ ด้านกระบวนการเรียนรู้ จึงได้ร่วมมือกันปรับเป้าหมายการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนทุกคน เรียนรู้ร่วมกันด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) ดำเนินการวัดและ ประเมินผลเน้นผลผลิตที่เกิดขึ้นตามสภาพจริง ด้วยเกณฑ์มิติคุณภาพ Rubrics ตอบสนองแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรังปรุง) ที่เน้นให้พัฒนาทักษะการคิด การปฏิบัติ และการสร้างเจตคติ ค่านิยมที่ดีร่วมกัน สามารถสร้างความรู้ในระดับ หลักการไปสร้างผลงานในระดับนวัตกรรม สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้ทุกมิติ นำพาประเทศไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างความรู้และสร้างค่านิยม ตามแนวทางประชาธิปไตย ซึ่งไม่เน้นการเรียนแบบ อ่าน ท่อง สอบ แล้วลืมอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“ศุภมาส” รัฐมนตรี อว. มอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์นักวิจัยไทยที่คว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติ และแสดงความยินดีที่นักประดิษฐ์นักวิจัยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย

                                        วันที่ 16 กันยายน 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ...