วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ อิทธิปาฏิหาริย์!! พระอาทิตย์ทรงกลด ‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ หลัง ‘พีระพันธ์ุ’ สักการะ เชื่อ!! เป็น ‘สัญญะ’ คุ้มครองคนทำงานให้ชาติพระพุทธรูปนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ก่อนจะรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นเช่นวันนี้เสียอีกด้วยซ้ำ โดยเจริญยิ่งขึ้นหลังพระบูรพมหากษัตริย์สยาม ทรงปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ พระพุทธรูปก็ถูกสร้างเผยแผ่ขยายทั่วราชอาณาจักร ภายใต้ความเชื่อว่าเป็นตัวแทนพระพุทธองค์ตั้งแต่ใจกลางเมืองหลวง ตลอดจนหัวเมืองใหญ่ จนถึงหมู่บ้านซึ่งเล็กกระจ้อยร่อยที่สุด ล้วนมีพระพุทธรูปประดิษฐานเป็นหลักใจทั้งสิ้น เรียกว่าชาวบ้านก็มีพระพุทธรูปของชาวบ้าน ชาวเรือก็มีพระพุทธรูปของชาวเรือ ชาวป่าก็มีพระพุทธรูปของชาวป่า ไม่มีเว้นอีก ‘ชาวเขื่อน’ หรือคำที่ผู้คนอันเกี่ยวข้องกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เรียกขานตนเอง โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติหน้าที่กับ ‘เขื่อน’ โดยตรง ก็ย่อมมีพระพุทธรูปเป็นศูนย์รวมจิตใจไม่ต่างจาก ‘ชาว’ ทั่วไปเหมือนกัน‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ หรือ ‘พระพุทธสิริสัตตราช’ อันมีความหมายว่า ‘พระผู้เป็นมงคลศรีแห่งแผ่นดินทั้งเจ็ด’ คือสิ่งสักการะอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวเขื่อน (กฟผ.) มาช้านาน โดยมีการประดิษฐานไว้ทั้งที่สำนักงานใหญ่ และตามเขตเขื่อนต่างๆเพราะ ‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ ท่านเป็นสัญลักษณ์ของหยาดฝน ความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงความร่มเย็นเป็นสุข มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปโบราณปางสมาธิ ประทับนั่งบนขดหางของพญางู 7 องค์ เหนือพระเศียรมีพญางูทั้งเจ็ดชูคอแผ่พังพาน ปกป้องคุ้มครององค์‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ ของชาว กฟผ. นั้น สร้างจำลองจากพระพุทธรูปคู่บุญบารมีของ ‘พระครูภาวนากิจโกศล’ (หลวงปู่สอ พันธุโล) แห่งวัดป่าบ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร พระพุทธรูปองค์เดิมมีฐานกว้าง 9 นิ้ว สูง 15 นิ้ว จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2542 อันเป็นปีมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบที่มาของ ‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ผู้เขียนจึงขอยกคำเล่าลือเรื่องนี้ว่า “...เย็นวันหนึ่งในปี พ.ศ.2502 ‘หลวงปู่สอ พันธุโล’ จำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าบ้านตาด ขณะกำลังนั่งสมาธิอยู่ จิตใจเริ่มสงบเยือกเย็นลงระดับหนึ่ง บังเกิดนิมิตเห็นงูใหญ่ตัวสีทอง เลื้อยเข้ามาในกุฏิ งูนั้นตัวใหญ่มาก เท่าๆ กับต้นเสากลางบ้าน ยาวประมาณ 6- 7 เมตร หลวงปู่จ้องมองกระทั่งงูนั้นเลื้อยเข้าไปในตัวท่านทะลุออกหลัง นึกแปลกใจว่างูใหญ่ขนาดนี้ มันอยู่ในตัวเราได้อย่างไร”จนหลายปีต่อมามีสองสามีภรรยาคู่หนึ่งนำพระพุทธรูปปางนาคปรกโบราณมาถวายให้หลวงปู่สอ และนี่เป็นที่มาของ ‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ ณ ปัจจุบันจนกระทั่งเมื่อไม่กี่วันมานี้ ‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ แห่งเขื่อนลำตะคอง พระพุทธรูปที่ นาย พีระพันธ์ุ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ได้เดินทางไปกราบสักการะ ก็ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์อีกครั้ง ด้วยภาพพระอาทิตย์ทรงกลดสว่างเจิดจ้ากลางท้องฟ้า เสมือนร่ม (กลด) กางกั้นคุ้มครองผู้อาสาทำงานที่มีความจริงใจต่อบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย

‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ อิทธิปาฏิหาริย์!! พระอาทิตย์ทรงกลด ‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ หลัง ‘พีระพันธ์ุ’ สักการะ เชื่อ!! เป็น ‘สัญญะ’ คุ้มครองคนทำงานให้ชาติ

พระพุทธรูปนั้นอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ก่อนจะรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นเช่นวันนี้เสียอีกด้วยซ้ำ โดยเจริญยิ่งขึ้นหลังพระบูรพมหากษัตริย์สยาม ทรงปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ พระพุทธรูปก็ถูกสร้างเผยแผ่ขยายทั่วราชอาณาจักร ภายใต้ความเชื่อว่าเป็นตัวแทนพระพุทธองค์

ตั้งแต่ใจกลางเมืองหลวง ตลอดจนหัวเมืองใหญ่ จนถึงหมู่บ้านซึ่งเล็กกระจ้อยร่อยที่สุด ล้วนมีพระพุทธรูปประดิษฐานเป็นหลักใจทั้งสิ้น เรียกว่าชาวบ้านก็มีพระพุทธรูปของชาวบ้าน ชาวเรือก็มีพระพุทธรูปของชาวเรือ ชาวป่าก็มีพระพุทธรูปของชาวป่า ไม่มีเว้น

อีก ‘ชาวเขื่อน’ หรือคำที่ผู้คนอันเกี่ยวข้องกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เรียกขานตนเอง โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติหน้าที่กับ ‘เขื่อน’ โดยตรง ก็ย่อมมีพระพุทธรูปเป็นศูนย์รวมจิตใจไม่ต่างจาก ‘ชาว’ ทั่วไปเหมือนกัน

‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ หรือ ‘พระพุทธสิริสัตตราช’ อันมีความหมายว่า ‘พระผู้เป็นมงคลศรีแห่งแผ่นดินทั้งเจ็ด’ คือสิ่งสักการะอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวเขื่อน (กฟผ.) มาช้านาน โดยมีการประดิษฐานไว้ทั้งที่สำนักงานใหญ่ และตามเขตเขื่อนต่างๆ

เพราะ ‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ ท่านเป็นสัญลักษณ์ของหยาดฝน ความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงความร่มเย็นเป็นสุข มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปโบราณปางสมาธิ ประทับนั่งบนขดหางของพญางู 7 องค์ เหนือพระเศียรมีพญางูทั้งเจ็ดชูคอแผ่พังพาน ปกป้องคุ้มครององค์

‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ ของชาว กฟผ. นั้น สร้างจำลองจากพระพุทธรูปคู่บุญบารมีของ ‘พระครูภาวนากิจโกศล’ (หลวงปู่สอ พันธุโล) แห่งวัดป่าบ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร พระพุทธรูปองค์เดิมมีฐานกว้าง 9 นิ้ว สูง 15 นิ้ว จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2542 อันเป็นปีมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ

ที่มาของ ‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ผู้เขียนจึงขอยกคำเล่าลือเรื่องนี้ว่า “...เย็นวันหนึ่งในปี พ.ศ.2502 ‘หลวงปู่สอ พันธุโล’ จำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าบ้านตาด ขณะกำลังนั่งสมาธิอยู่ จิตใจเริ่มสงบเยือกเย็นลงระดับหนึ่ง บังเกิดนิมิตเห็นงูใหญ่ตัวสีทอง เลื้อยเข้ามาในกุฏิ งูนั้นตัวใหญ่มาก เท่าๆ กับต้นเสากลางบ้าน ยาวประมาณ 6- 7 เมตร หลวงปู่จ้องมองกระทั่งงูนั้นเลื้อยเข้าไปในตัวท่านทะลุออกหลัง นึกแปลกใจว่างูใหญ่ขนาดนี้ มันอยู่ในตัวเราได้อย่างไร”

จนหลายปีต่อมามีสองสามีภรรยาคู่หนึ่งนำพระพุทธรูปปางนาคปรกโบราณมาถวายให้หลวงปู่สอ และนี่เป็นที่มาของ ‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ ณ ปัจจุบัน

จนกระทั่งเมื่อไม่กี่วันมานี้ ‘หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์’ แห่งเขื่อนลำตะคอง พระพุทธรูปที่ นาย พีระพันธ์ุ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ได้เดินทางไปกราบสักการะ ก็ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์อีกครั้ง ด้วยภาพพระอาทิตย์ทรงกลดสว่างเจิดจ้ากลางท้องฟ้า เสมือนร่ม (กลด) กางกั้นคุ้มครองผู้อาสาทำงานที่มีความจริงใจต่อบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“ศุภมาส” รัฐมนตรี อว. มอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์นักวิจัยไทยที่คว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติ และแสดงความยินดีที่นักประดิษฐ์นักวิจัยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย

                                        วันที่ 16 กันยายน 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ...