‘Asia International Hemp Expo 2024’ ดันมาตรฐานคุณภาพวัตถุดิบไทย
ชิงตลาดอุตสาหกรรมกัญชงโลก ประกาศจัดงาน 27-30 พ.ย.นี้
สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TiHTA) เร่งสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมกัญชงไทยสอดรับมาตรฐานสากล
รองรับโอกาสทางธุรกิจจากตลาดกัญชงเกิดใหม่
หลังยุโรปและประเทศในเอเชียปรับกฎหมายการใช้ประโยชน์กัญชง
พร้อมผลักดันโครงการต้นแบบ ‘Hemp Sandbox’ เพื่อสร้างราคากลางวัตถุดิบกัญชง
เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม และจับมือร่วมกับ นีโอ
ประกาศการจัดงานสุดยิ่งใหญ่ของภูมิภาคเอเชียเป็นปีที่ 3 กับงาน ‘Asia International Hemp Expo 2024’
ขับเคลื่อนและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมกัญชงให้เดินหน้าต่อ คาดเม็ดเงินในงานสะพัดเกิน
1,000 ล้านบาท ดีเดย์จัดงาน 27-30 พฤศจิกายนนี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นายพรชัย ปัทมินทร
นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมของกัญชงในปี 2567
เกิดการเปิดกว้างของตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดยุโรปและเอเชียบางประเทศ
ได้ดำเนินการปรับบทกฎหมายด้านการใช้ประโยชน์ของกัญชงให้เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้น
สร้างโอกาสและการขยายตัวเป็นวงกว้างในแง่เศรษฐกิจ
ทั้งนี้คาดว่าอุตสาหกรรมกัญชงโลกจะเติบโตถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026
(ข้อมูลจาก: The Global
Cannabis Report: 3rd Edition by Prohibition Partners) ในขณะเดียวกันมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมในประเทศไทยคาดว่าจะเติบโตถึง
2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 (ข้อมูลจาก: Euromonitor) ซึ่งแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตของประเทศไทยคือความเป็นศูนย์กลางด้าน
Medical & Wellness
hub ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน
สร้างมาตรฐานสากลในอุตสาหกรรมกัญชงไทยเพื่อเปิดรับทุกโอกาสบนเวทีโลก
การผลักดันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะการสร้างมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับระดับสากลเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆที่ช่วยให้สามารถเกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้
สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย เครือข่ายอุตสากกรรมพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ
ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการสร้างมาตรฐานที่เกี่ยวเนื่องต่ออุตสาหกรรมนี้
โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิตที่ดีตั้งแต่ต้นน้ำและกลางน้ำ
ด้วยการจัดทำมาตรฐานติดตามข้อมูลตลอดกระบวนการผลิตผ่านระบบ Tracking system และสะท้อนความสำเร็จการผลักดันมาตรฐานจากผู้ประกอบการในกลุ่มสมาชิกที่มีการดำเนินการขอมาตรฐาน
GAP และ GACP เพิ่มมากขึ้น
ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรม
ออกประกาศใช้มาตรฐานสารสกัดกัญชงตั้งแต่ปี 2564 จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่
น้ำมันเมล็ดกัญชง สารสกัดCBD
เปลือกกัญชง แกนกัญชง เส้นใยกัญชง
เพื่อให้ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม อาทิ สิ่งทอ อาหาร เครื่องสำอาง กระดาษ
ยานยนต์ เป็นต้น
นับเป็นการสร้างมาตรฐานการผลิตที่สอดคล้องกับตลาดกัญชงใหม่ในทวีปยุโรปที่อนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบจากไทย
ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกัญชงในไทยต้องดำเนินการตามมาตรฐาน GMP, EU-GMP เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของตลาดเป้าหมาย
นอกจากนี้เส้นใยและสารสกัดกัญชง ซึ่งมีการนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ alternative wellness, ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์, อุตสาหกรรมแฟชั่น, อุตสาหกรรมยานยนต์และอากาศยาน รวมถึงผลิตภัณฑ์ Lifestyle การเติบโตนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมแนวคิด ESG อีกทั้งอุตสาหกรรมกัญชงยังเปิดโอกาสในการสร้างและซื้อขาย Carbon Credit เนื่องจากกัญชงสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้มากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ อุตสาหกรรมนี้จึงมีศักยภาพในการสร้างเครดิตคาร์บอนเพื่อขายให้กับบริษัทที่ต้องการลดคาร์บอนในกิจกรรมของตนเอง อย่างไรก็ตาม การสร้างมาตรฐานและการตรวจสอบความถูกต้องของเครดิตคาร์บอนยังคงเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญ TiHTA ปั้น ‘Hemp Sandbox’ เฟ้นหาราคากลางวัตถุดิบกัญชงเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
สมาคมฯ มีแนวทางในการผลักดันให้เกิดราคากลางในวัตถุดิบกัญชงที่เหมาะสม เพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานให้ตลาดอุตสาหกรรมกัญชงเติบโตอย่างยั่งยืน โดยได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการ ‘Hemp Sandbox’ ส่งเสริมการปลูกกัญชงในพื้นที่ราบ จากเดิมในพื้นที่ราบสูง รวมถึงส่งเสริมการปลูกใกล้แหล่งผู้ประกอบการแปรรูป และใกล้การขนส่งเพื่อการส่งออก โดยจะส่งเสริมให้องค์ความรู้ในการปลูก การจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีการรับรองพันธุ์ โดยมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนการให้ความรู้ด้านความต้องการของตลาดในแต่ละอุตสาหกรรม อีกทั้งวางแนวทางการร่วมคิดค้นและพัฒนาเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวและแปรรูปโดยสมาชิกผู้ประกอบการในประเทศ การสนับสนุนพื้นที่แปลงทดลองปลูกและระบบชลประทานจากหลายภาคส่วนที่เข้าร่วม ทั้งนี้เชื่อว่า Hemp Sandbox จะช่วยสร้างมาตรฐานที่ดีตั้งแต่กระบวนการผลิต สอดคล้องกับความต้องการและมาตรฐานในอุตสาหกรรมนั้นๆในตลาดต่างประเทศ อาทิ การจดทะเบียนรับรองพันธุ์, การทำเอกสาร certificate of Analysis (COA) ของพันธุ์พืช, การควบคุมมาตรฐานการปลูก, การผลิตตามมาตรฐาน GMP EUGMP, Green Industry, ISO 27716, 14001, 9001 ,Halal และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการบริหาร บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (นีโอ) กล่าวว่า “ภายใต้ความร่วมมือการจัดงานครั้งที่ 3 ในปีนี้กับงาน Asia International Hemp Expo 2024 ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการจัดงานแสดงสินค้า เรามีความภาคภูมิใจที่ได้ใช้ศักยภาพด้านต่างๆ ของงานแสดงสินค้าในการเชื่อมโยงโอกาส และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกัญชง เพื่อบรรเทาข้อจำกัดของอุตสาหกรรมให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับงานในปีนี้นอกจากการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับ 14 อุตสาหกรรมแล้ว ได้มีการจัดสัมมนานานาชาติที่เป็น Case study และการแบ่งปันความรู้โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์จริงกว่า 20 ประเทศที่มีความโดดเด่นในสาขาต่างๆ ทั้งเทคนิกการปลูก เทคนิคการสกัด ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาหารแห่งอนาคต คอมโพสิทเพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอากาศยาน เฮมพ์กรีต และที่สำคัญคือมาตรฐานการผลิตสำหรับตลาดในประเทศต่างๆด้วย โดยในปีนี้เราคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมแสดงกว่า 200 บริษัท ผู้เข้าชมงานกว่า 10,000 คน และมีเงินสะพัดจากการจัดงานครั้งนี้กว่า 1,000 ล้านบาท”
ผลักดัน
‘การเชื่อมโยงห่วงโซ่วัตถุดิบเพื่อสร้างอุปสงค์อุตสาหกรรมกัญชง’
สำหรับการจัดงานในครั้งนี้
ไฮไลท์สำคัญคือการเชื่อมโยงห่วงโซ่วัตถุดิบ โดยได้จัด HEMP Supply Chain Pavilion ที่เปิดโอกาสให้ผู้ปลูกเข้าร่วมนำเสนอศักยภาพและปริมาณความสามารถในการปลูกกับผู้ซื้อในภาคอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ
โดยในภาคอุตสาหกรรมก็จะนำเสนอคุณสมบัติของวัตถุดิบและปริมาณความต้องการซื้อในแต่ละปี
ซึ่งจะทำให้ผู้ปลูกสามารถวางแผนการปลูก เลือกเมล็ดพันธุ์ และเลือกวิธีการปลูกได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ได้จับมือร่วมกับสมาคม Design Object จัดนิทรรศการ HEMP Inspired Showcase นำผลงานจากนักออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบกัญชงร่วมจัดแสดงภายในงาน
เพื่อโชว์ศักยภาพของวัตถุดิบและสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นการเพิ่มอุปสงค์ให้กับอุตสาหกรรมกัญชงต่อไป
ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่จะรองรับวิสัยทัศน์ Hemp Sandbox ของสมาคมอีกด้วย
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน Asia International Hemp Expo 2024
สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้แล้ววันนี้ ที่ www.asiahempexpo.com งานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายนนี้
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น